เรื่อง “ การใช้วัสดุอิฐมอญในท้องถิ่นบ้านพิษณุโลก”
หัวข้อ “ การใช้วัสดุอิฐมอญในท้องถิ่นบ้านพิษณุโลก”
จุดประสงค์
1.เพื่อศึกษาวัสดุก่อสร้างอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลกว่ามีกี่ชนิด ผลิตอย่างไร ผลิตที่ไหน ใช้ที่ไหน ใช้อย่างไร ราคาเท่าไหร่
2.เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออิฐมอญมาเป็นวัสดุก่อสร้างในการสร้างบ้าน ในท้องถิ่นพิษณุโลก
3.เพื่อศึกษาคุณสมบัติ ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย ของอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลกและเปรียบเทียบกับอิฐชนิดต่างๆ
4.เพื่อเป็นการอนุรักษ์อิฐมอญให้อยู่คู่ท้องถิ่นตลอดไป
แนวทางการศึกษา
1.ค้นคว้าหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
2.ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในห้องสมุดคณะและหอสมุดกลาง
3. ไปสัมภาษณ์ช่างก่อสร้างใน siteงานก่อสร้าง ในท้องถิ่นบ้านพิษณุโลก
4. ไปหาข้อมูลจากร้านค้าวัสดุก่อสร้างและแหล่งผลิตอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ได้รับความรู้เกี่ยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับวกับเรื่องวัสดุก่อสร้างอิฐมอญในท้องถิ่นพิษณุโลกอย่างถ่องแท้
2.ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆจากการไปสัมภาษณ์
3.ทำให้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักแบ่งเวลาและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4.สามารถนำความรู้เรื่องอิฐมอญ ทั้งคุณสมบัติ ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย ไปประยุกต์ปรับใช้ในการออกแบบในโครงการต่างๆ
อิฐมอญเป็นวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนหรืออาคารต่างๆเป็นจำนวนมากในท้องถิ่นพิษณุโลกและเป็นที่นิยมมีมายาวนานสืบทอดต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นวัสดุก่อสร้างที่สำคัญหาง่ายในท้องถิ่นพิษณุโลก
อิฐมอญนั้นเริ่มโดยชาวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยหลายต่อหลายครั้งนับตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งรากฐานในไทยบางกลุ่มได้เริ่มต้นประกอบอาชีพที่ตนเชี่ยวชาญ นั่นก็คือการทำอิฐดินเผา และด้วยคุณภาพของอิฐดินเผาชาวมอญทำให้เป็นที่นิยมโดยทั่วไปและมีการเรียกอิฐดินเผาชนิดนี้ในเวลาต่อมาว่า “อิฐมอญ” นั่นเอง ในสมัยแรกอิฐมอญมีขนาดค่อนข้างใหญ่ก่อนจะมีวิวัฒนการจนกระทั่งมาถึงอิฐยุคปัจจุบันที่ทำเป็นก้อนเล็กๆ เพื่อสะดวกในการก่อสร้าง
อิฐมอญนั้นกลายเป็นส่วนประกอบในงานก่อสร้างบ้านเมืองของชาวไทยมาโดยตลอดโดยเฉพาะในสมัยอยุธยาจนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อิฐมอญถูกใช้ทำฐานรากโบสถ์ วิหาร กำแพง ใช้แทนเสาเข็ม ก่อเป็นเสา และใช้ทำถนน และเมื่อถึงยุคที่สถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและค่านิยมของชาวไทย จึงทำให้คนไทยเริ่มเปลี่ยนค่านิยมจากการปลูกเรือนด้วยไม้ต่างๆ ขยับขยายไปปลูกบ้านเรือนเป็นตึกแบบชาวตะวันตก อิฐมอญ ก็ยังได้รับความไว้วางใจให้เป็นส่วนประกอบสำคัญ และไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนอย่างไรอิฐมอญก็ถูกปรับใช้งานกับสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน
ขั้นตอนการผลิตและ ลักษณะทั่วไปของอิฐมอญ อิฐมอญเป็นวัสดุที่ผลิตมาจากการนำดินเหนียวมาเผาเพื่อให้ได้วัสดุที่คงรูปมีความแข็งแรงทนทานผสมกับแกลบหรือวัสดุอื่นผสมน้ำ นวดเคล้าให้เข้าเนื้อเดียวกันแล้วใส่เข้าไปในแม่พิมพ์ โดยโรยเถ้าแกลบบนลานดินภายในแม่พิมพ์ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินผสมติดกับแม่พิมพ์ หลังจากนั้นปาดให้เรียบ ตัดทำเป็นแผ่น ผึ่งให้แห้งหรือพอหมาด แล้วเอาเข้าเตาเผาจนสุกเป็นระยะเวลา 7 วัน ส่วนลักษณะทั่วไปของอิฐมอญนั้น อิฐมอญที่นิยมใช้กันทั่วไปในท้องถิ่นบ้านพิษณุโลกนั้นส่วนใหญ่จะใช้อิฐมอญที่มีขนาดกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร ยาว 17เซนติเมตร และหนา 5.0 เซนติเมตร(ขนาดของอิฐมอญนั้นมีให้เลือกหลายขนาดและหลายแบบแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ เช่น มี แบบ2รู แบบ4รู หรือแบบทึบตัน) และการเลือกดินเหนียวที่มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอิฐมอญนั้น มีข้อที่ควรคำนึงถึงคือ ความเหนียวของดินเพื่อให้ขึ้นรูปได้ง่าย อุณหภูมิที่เผาให้สุกตัวควรอยู่ในช่วง 950-1100oC เพื่อให้อิฐมีความแข็งโดยไม่มีการหดตัวหรือผิดรูปมากเกินไป
วัสดุอุปกรณ์ในการทำอิฐมอญมีดังนี้ 1.ดินเหนียว 2.แกลบ 3.บ่อหมักดิน 4.พลั่วสำหรับตักดิน 5.จอบ 6.บล็อคอิฐสำหรับทอดอิฐ 7.ลานสำหรับทอดอิฐ 8.ไม้กวาด 9.มีด 10.รถสำหรับใส่ดิน 11.บุ้งกี๋ 12.ถังน้ำ 13.น้ำ ส่วนในเรื่องคุณสมบัติของอิฐมอญนั้นจะยอมให้ความร้อนถ่ายเทเข้า-ออกได้ง่าย และเก็บความร้อนไว้ในตัวเองเป็นเวลานาน และเนื่องจากอิฐมอญมีความจุความร้อนสูงทำให้สามารถกักเก็บความร้อนไว้ในเนื้อวัสดุได้มากก่อนที่จะค่อยๆถ่ายเทสู่ภายนอก จึงเหมาะกับการใช้กับบริเวณที่ใช้งานเฉพาะช่วงกลางวัน อิฐมอญ นั้นมีข้อเสียก็คือ มีขนาดเล็กซึ่งจะต้องประณีตในการก่อสร้าง และการ ก่อสร้างช้ากว่าอิฐอื่นๆ ระบายความร้อนได้น้อย อีกทั้งยังต้องผ่านกรรมวิธีการเผาซึ่งอาจจะทำให้เกิดมลพิษและปัญหาโลกร้อนตามมาได้ แต่อิฐมอญก็มีข้อดีคือ ราคาถูก ทนไฟ ทนความชื้น มีความแข็งแรง มีขนาดเล็กขนย้ายง่ายสะดวก หาซื้อง่ายตามท้องถิ่น และเหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นแบบเมืองไทย อันนี้ก็เป็นเกร็ดความรู้(ถ้าเราก่ออิฐมอญ 2ชั้นก็จะสามารถช่วยลดความร้อนในอาคารได้อีกด้วย) ส่วนในเรื่อง ประโยชน์ ประโยชน์ ของอิฐมอญนั้นมีมากมายหลายอย่างเช่น เราสามารถนำอิฐมอญมาไปทำเป็นรั้ว ทำผนังอาคาร ทำทางเดิน และสามารถนำไปเป็นวัสดุตกแต่งอาคารได้หลากหลาย
ถึงแม้ว่าอิฐมอญจะระบายความร้อนได้น้อย แต่ก็ยังเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย สำหรับคนในพิษณุโลกจากการที่ได้ไปสัมภาษณ์การใช้อิฐมอญในตัวอย่างบ้านพิษณุโลกนั้นพบว่า การที่คนในพิษณุโลกใช้อิฐมอญกันอย่างแพร่หลายนั้นก็ เนื่องจากว่าความเชื่อมั่นในความคงทนแข็งแรงทนทาน ราคาถูกกว่าอิฐชนิดอื่นๆ ที่สำคัญหาง่ายตามท้องถิ่น และผลิตได้ตามแรงงานในท้องถิ่นพิษณุโลกและอาจจะมีผลทางด้านพฤติกรรมที่มีการใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านช่วงกลางคืนมากกว่าในช่วงกลางวันจึงทำให้คนในท้องถิ่นพิษณุโลกตัดสินใจเลือกใช้วัสดุก่อสร้างอิฐมอญมาใช้ในการสร้างบ้านก็อาจเป็นไปได้และการหาช่างมาก่อสร้างบ้านเรือนด้วยอิฐมอญก็หาง่ายกว่าพวกช่างก่อสร้างเหล็ก เพราะว่าชาวบ้านในท้องถิ่นพิษณุโลกส่วนใหญ่ผูกพันและนิยมใช้ อิฐมอญมาเป็นระยะเวลาช้านานที่สืบทอดต่อเนื่องมาตั้งแต่บรรพบุรุษและมีการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายพอเพียง
ตารางการเปรียบเทียบลักษณะคุณสมบัติอิฐมอญกับคอนกรีตมวลเบา
ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุ | อิฐมอญ | คอนกรีตมวลเบา |
ราคา | ถูก | แพง |
โครงสร้างบล็อค | ตัน | กลวง |
ก่อผนังเป็นผนังรับแรง | ไม่ได้ | ได้ |
การดูดซึมน้ำ | สูง | ปานกลาง |
ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน | 1.5 เซนติเมตร | 2.3 มิลลิเมตร |
ความหนาของปูนที่ฉาบ | 20-25 มิลลิเมตร | 10 มิลลิเมตร |
น้ำหนักวัสดุ (กก./ตร.ม.) | 130 | 45 |
น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน? (กก./ตร.ม.) | 180 | 90 |
จำนวนใช้งานต่อ 1 ตร.ม. (ก้อน/ตร.ม.) | 130 – 145 | 8.33 |
ค่ากำลังอัด ( Compressive Strength ) (กก./ตร.ซม.) | 15 – 40 | 30 – 80 |
ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) ( วัตต์/ม.เคลวิน ) | 1.15 | 0.13 |
ค่าการถ่ายเทความร้อนรวม OTTV? ( วัตต์/ตร.ม. ) | 58 – 70 | 32 – 42 |
อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) ( เดซิเบล ) | 38 | 43 |
อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) (ความหนา 10 เซนติเมตร) | 2 | 4 |
ความเร็วในการก่อ? ( ตร.ม./วัน ) | 6-12 | 15-25 |
เปอร์เซ็นต์สูญเสีย / แตกร้าว | 10 – 30 % | 0 – 3 % |
การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง | หล่อเสาเอ็นทับหลังและต้องมีค้ำยัน | ไม่ต้องเททับหลังและไม่ต้องมีค้ำยัน |
ราคาของอิฐมอญ นั้นถูกเมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่นเป็นอิฐที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
– อิฐมอญมาตรฐาน มอก. ขนาด 6X 6X 15 ราคา 0.90 บาท
– อิฐมอญกล่อง/รู (2 รู) ขนาด 6 X 6 X 15 ราคา 0.83 บาท
– อิฐมอญมือ(เครื่อง) ขนาด 4.20 X 6.20 X 15 ราคา 0.50 บาท
– อิฐมอญตัน ขนาด 3 X 6 X 15 ราคา 0.43 บาท
– อิฐมอญรู ขนาด 5 X 8 X 17 ราคา 0.47 บาท
แหล่งที่มา จาก www.thaionlinemarket.com
No trackbacks yet.